การเลี้ยงไก่ชนไทย ขุนไว้ตี ตรงตามตำราโบราณ

หน้าแรก »ไก่ชนไทย » การเลี้ยงไก่ชนไทย ขุนไว้ตี ตรงตามตำราโบราณ

การเลี้ยงไก่ชนไทย ขุนไว้ตี ตรงตามตำราโบราณ

ไก่ชนไทย เป็นไก่ชนที่มีลีลาแพรวพราวฝีเท้าดีโดดเด่น มีทั้งลูกล่อลูกชน ยากจะหาไก่ชาติใดเสมอเหมือนทั้ง กอดขี่ บดบี้ ขยี้ เท้าหุ่น ตีตัว มุดมัดและมุดลอดทะลุขา เมื่อเทียบกับไก่ชาติอื่นๆแล้วถือว่า ไก่ชนไทย มีทักษะที่ดีกว่าไก่ชนชาติอื่นๆ

ไก่ชนไทย

ไก่ชนไทย

*แล้วทำไม ไก่ชนไทย จึงตีสู้ไก่ชาติอื่นไม่ได้

  1. ไก่ชนไทย กับไก่พม่า เลือด100%

“ไม่มีโอกาสตีกันได้” เพราะขนาดของไก่ไทยกับไก่พม่า เป็นไก่ที่มีขนาดตัวแตกต่างกัน ไก่พม่าแท้ๆ จะมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กก. ตัวโต 3.00 กก. แต่มีน้อยมาก ส่วนไก่ไทยขนาดตัวเล็กไม่เกิน 2.5 กก. ก็หาได้น้อยมากแทบนับตัวได้ แต่ทุกวันนี้ไก่พม่าที่นำมาตีกับไก่ไทยส่วนมากเป็นลูกผสม เลือดพม่า 50% บ้าง 25% บ้าง ซึ่งจะมีขนาดโตประมาณ 3.00-3.20 กก. สำหรับไก่ลูกผสมพม่าที่มาตีกับไก่ไทย 100% นั้น ก็มีทั้งแพ้ ทั้งชนะ สรุปได้ว่าไก่ไทยสู้ไก่พม่าไม่ได้นั้นไม่เป็นความจริง!

ไก่ชนไทย

ไก่ชนไทย

  1. ไก่ชนไทย กับไก่ไซง่อน เลือด 100%

“ไก่ชนไทยกับไก่ไซง่อนมีโอกาสตีกันได้มากกว่าไก่ไทยกับไก่พม่าแท้ 100%” เพราะมีขนาดใกล้เคียงกัน ไก่ไซง่อนมีจุดเด่นมากกว่าไก่ไทยทั่วไป คือ กระดูกโครงสร้างใหญ่ ผิวหนังหนา ปอดใหญ่ ตีหนัก ลำโต แต่ไก่ไซง่อนมีจุดอ่อนคือ ช้าไม่คล่องตัว ลีลาชั้นเชิงมีน้อย ไก่ไซง่อนเลือด 100% ไม่น่ากลัว ไก่ไทยสามารถสู้ได้แน่นอน แต่ต้องมีเชิงเหนือด้าน ไก่ตีแผล ตีวงแดง ตีบ้องหู และต้องเป็นไก่ปากไว แต่ไก่ไซง่อนที่น่ากลัวคือไซง่อนผสม ที่ผสมไทย , พม่า เพราะไก่ไซง่อนลูกผสมจะปากไว ตีแม่น โครงสร้างใหญ่ และผิวหนาแบบไก่ไซง่อนด้วย

ไก่ชนไทย

ไก่ชนไทย

  1. เวลาชนของแต่ละยก

เรื่องเวลาแต่ละยกในการชนไก่ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ ไก่ชนไทย สู้ไก่เทศไม่ได้ เพราะเวลาของการชนแต่ละยกเพิ่มขึ้น จาก 20 นาที เป็น 23-25 นาที เพื่อให้ไก่แพ้ชนะกันไวขึ้น ซึ่งไก่ไทยสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ตรงนี้เอง  เพราะไก่ไทยโดยสภาพร่างกายมีปอดเล็ก ดังนั้นเมื่อยืดเวลาออกไป ไก่ไทยจะหอบ และถูกตีในช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 20 เป็นต้นไป

อีกสาเหตุหนึ่งไก่ไทยเป็นไก่เชิงขยันตี จึงต้องออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยไว โดยสรุปภาพรวมแล้ว หากต้องการให้ไก่ชนไทยสู้กับไก่ต่างประเทศได้ ให้เพาะไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงในการตีไว ตีแม่น ตีเจ็บให้มากกว่าไก่เชิงมาก อย่าเอาไก่เชิงมากไปผสมกับไก่เชิงมากเช่นกัน ลูกไก่ที่ได้จะเป็นไก่เชิงล้นไม่ค่อยตี พอไปตีก็มัวแต่เล่นเชิง พอถูกตีตัวและเหนื่อยเข้าก็หมดเชิง แต่ถ้าเพาะได้ ไก่เชิงดี ตีแม่น

และไก่ไทยเป็นไก่หนังบาง ส่วนไก่ไซง่อนเป็นไก่หนังหนา หากตีกันโดยมีการพันเดือยหรือสวมนวม ก็ไปเข้าทางของไก่ไซง่อน หากจะตีกับไก่ไซง่อนต้องตีแบบปล่อยเดือยตามธรรมชาติ ไก่ไซง่อนเจอเดือยเข้าก็สู้ไม่ได้ เพราะไก่ไทยไวกว่า แต่ถ้าตีกับไก่พม่าก็ห้ามปล่อยเดือยเพราะไก่พม่าเป็นไก่แม่นเดือย

 

ไก่ชนไทย

ไก่ชนไทย

 

ไก่งามตามตำราไก่ชนไทย

ตามตำราไก่ชนไทย ไก่งาม คือไก่ที่มีรูปร่างลักษณะ โครงสร้างดี ได้สัดส่วน และสง่างาม ไม่พบความบกพร่องหรือพิการทางร่างกายเช่น ปากหัก ปากบิด เบี้ยวตาบอด อกไม่คด ไม่เป็นปรวด แข้งไม่ผุ นิ้มไม่เก เล็บไม่กุดหรือขาด หรือหัก เดือยไม่โค่นไม่คุด หงอนไม่มีรู หูไม่กลวง เท้าไม่เป็นหน่อ ร่างกายสมบูรณ์ไม่เป็นโรค ตัวผู้ควรมีน้ำหนัก 3 กิโลกรัมขึ้นไป และตัวเมียควรมีน้ำหนัก 2 กิโลกรัมขึ้นไป

โดยมีส่วนประกอบของร่างกายงดงามตามตำราดังนี้

1.ใบหน้า

แหลมเกลี้ยงเกลา กลมกลึงแบบหน้านกยูง ปากงอคล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำสองข้างชัดเจน ตาสีสดใส ขอบตาเป็นรูปวงรีคล้ายตาวัวหงอน มีลักษณะเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดกระหม่อมเลยตา กะโหลกศีรษะยาว ตุ้มหูรัด กลมกลึงกับใบหน้า แลดูแล้วหนายาวหน้าสวย นี่คือลักษณะดีของไก่ชนที่ดีและสวยงาม

2. รูปทรง หรือ รูปร่าง

สมส่วนทะมัดทะแมง คอใหญ่ ลำตัวยาว จับสองท่อน หน้าอกกว้าง อกตั้ง ยืนเชิด ตะเกียบชิด ปีกใหญ่และหนา บั้นท้ายโต หางกระดก

3.สร้อย

สร้อยคอสร้อยปีกสร้อยหาง เป็นระยะยาวสีใกล้เคียงกัน และตรงตามสายพันธุ์ของไก่ชนสายพันธุ์นั้นๆ

4.กิริยาท่าทาง

มีท่ายืนสง่า องอาจ และทะมัดทะแมง

5.เกล็ด

แข้งขามีสีใกล้เคียงกัน เดือย ใหญ่ นิ้วเรียวยาว บ่งบอกถึงไก่สกุลสูง แข้งเล็กเรียวยาว จะเข้ากับตำราไก่เก่ง ไก่ตีเจ็บ ที่โบราณกล่าวไว้ว่านกแข้งใหญ่ไก่แข้งเล็ก

ไก่ชนไทย

ไก่ชนไทย