การชนไก่ ต้องเตรียมไก่ชนให้พร้อมก่อนชน และในช่วงเวลาพัก เซียนไก่ต้องดูแลไก่ชนให้สามารถพร้อมกับไปชนให้มากที่สุด มาดูกันเลยค่ะ ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร?
1. ต่อขนให้สมบูรณ์ที่สุด
ขนไก่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ไก่บินได้สูง เพราะขนไก่จะช่วยพยุงตัวไก่ขึ้นขณะกระพือปีกขึ้นลง หากปีกไก่ไม่มีขนหรือมีขนน้อย ตัวไก่ก็จะกระโดดขึ้นได้ไม่สูง ไม่สามารถตีหรือใช้ขาหรือเดือยทำอันตรายจุดเป้าหมายได้
การต่อขนไก่จะทำก่อนการซ้อมหรือการนำไก่ลงชนในสังเวียน หรืออาจต่อขนไก่ขณะพักยก เพราะมีขนบางอันหัก โดยเซียนไก่บางคนอาจต่อขนไก่เมื่อมีขนไก่หักเพียงเส้นเดียว แต่บางคนอาจไม่ต่อ เพราะขนส่วนมากยังใช้การได้ดี แต่แท้จริงแล้ว ยิ่งทำให้ขนไก่ทุกขนมีความสมบูรณ์ ก็ยิ่งช่วยให้ไก่กระพือปีกได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะไก่เชิงตีตอหรือตีส่วนบนที่หัวหรือลำคอ เพราะไก่เชิงนี้จะต้องกระโดดขึ้นให้สูง จนได้ระยะตีที่เหมาะสม
การต่อขนไก่ เซียนไก่จะเลือกขนไก่ที่สมบูรณ์ ไม่รอยแหว่งขาด โดยเฉพาะปลายขน และเลือกให้มีสีเดียวกันกับขนที่หัก จากนั้น วัดระยะที่ต้องการต่อด้วยการนำขนไก่มาทาบทับโคนขนที่หัก พร้อมทำเครื่องหมายจุดที่ต้องการตัด โดยให้ยื่นทับปลายขนที่หักเข้ามาประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้น ตัดส่วนโคนขนที่เหลือทิ้ง
การต่อขนไก่ หลังวัดระยะที่ต้องการต่อ และตัดส่วนเกินของขนต่อออกแล้ว ให้เด็ดขนไก่ของขนต่อออก ก่อนนำกาวแท่งมารนไฟจนอ่อนตัว แล้วป้ายทาขนต่อ จากนั้น ให้รีบวางก้านขนต่อทับปลายของก้านขนที่หัก แล้วใช้นิ้วกดทิ้งไว้ชักพักจนกาวแห้งก็เป็นอันเสร็จ ทั้งนี้ อาจใช้เส้นด้ายผูกมัดไว้อีกชั้นก็ยิ่งดี
2. การแต่งเดือยให้คม
เดือยไก่ถือเป็นอาวุธสำคัญที่สุดของไก่ชน ทำหน้าที่ทิ่มแทงคู่ต่อสู้ให้มีบาดแผลจนต้องออกไก่หรือตายขณะต่อสู้ ไก่ชนที่มีเดือยใหญ่ และยาว ย่อมได้เปรียบ และทำให้คู่ต่อสู้กลัว ไม่กล้าเข้าชน
เซียนไก่จะแต่งเดือยไก่ชนให้มีความแหลมคม เพื่อใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้
3. การให้น้ำ
เมื่อถึงเวลาพักยกต้องรีบนำไก่ออกจากสนามโดยเร็ว เพื่อต้องการช่วยให้ไก่ได้หายจากอาการหอบโดยเร็ว และจะได้มีเวลาพักผ่อนได้มาก พอไก่หายจากอาการหอบแล้วค่อยยเอาข้าวให้กิน แล้วเคี้ยวตะไคร้ให้ละเอียดให้กิน 1 ก้อน เสร็จแล้วควรให้ไก่นอนพักผ่อนสัก 5 นาที เอาผ้าคลุมหัวไก่นอนครบ 5 นาที ตื่นขึ้นมาก็ประคบกระเบื้องอุื่น ๆ ลูบหน้า ลูบตัว ปั้นขา แล้วพยายามนวดตามลำคอจากหัวถึงโคนคอ จากโคนคอถึงโคนหาง นวดทุกนิ้ว เพื่อให้เส้นหย่อนไม่ตึงมาก จากบริเวณหัวตั้งแต่ใต้หงอนลงไปถึงโคนคอให้ทำในลักษณะขยี้เบาๆ เพื่อให้เส้นหย่อนเพื่อได้คล่องตัวในการสู้ยกต่อไป พยายามทำให้ทุกยก
4. การคลึงเสมหะหรือยอนคอ
ไก่ในระหว่างชนกันในสังเวียนจะมีการหายใจเร็ว และขับน้ำคัดหลั่งเหนียวหรือเสมหะออกมามาก ซึ่งจะเกาะตามลำคอของไก่ ทำให้ไก่หายใจลำบาก และหากได้ยินเสียงดังคอรอกๆขณะไก่หายใจ ยิ่งแสดงว่ามีเสมหะมาก ไก่หายใจลำบาก ทำให้กำลังในการขึ้นตี เมื่อพักยก เซียนไก่จะทำการคลึงเสมหะหรือเรียกว่าการยอนคอ เพื่อนำเสมหะหรือน้ำคัดหลั่งออกให้หมด ช่วยให้ไก่หายใจได้สะดวกขึ้น การคลึงเสมหะจะเริ่มด้วยการนำขนไก่ มาจุ่มน้ำล้างไก่ที่ต้มไว้ร้อนๆ เพื่อฆ่าเชื้อ และทำให้ขนไก่ชุ่มน้ำ ก่อนใช้มือรีดน้ำออก หลังจากนั้น ใช้นิ้วง้างปากไก่ออก แล้วน้ำปลายขนไก่สวนลงปากไก่ พร้อมหมุน 3-5 รอบ ก่อนนำขนไก่ออก และรีดน้ำเมือกออก แล้วชุบน้ำล้างไก่อีกครั้งก่อนสวนลงอีก 2-3 รอบ สุดท้ายนำน้ำล้างไก่อุ่นๆหยอดลงปากไก่เป็นอันเสร็จ
ขนไก่ที่ใช้คลึงเสมหะ โดยทั่วไปเซียนไก่จะใช้ขนหางหรือขนปลายปีกที่ยาวมากกว่าขนส่วนอื่น ขนไก่ไม่ฉีกขาดหรือแหว่งส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะปลายขนไก่ ซึ่งห้ามแหว่งเด็ดขาด เพราะหากแหว่งจะทำให้ก้านขนไก่ทิ่มลำคอได้ และควรนึ่งฆ่าเชื้อมาก่อนแล้ว ทั้งนี้ การคลึงเสมหะจะใช้ทั้งการซ้อม และการชนจริงในสนาม
5. การประคบกระเบื้อง
การประคบด้วยน้ำร้อนที่ช่วยให้กล้ามเนื้อไก่ และเส้นเอ็นไก่คลายตัว และลดอาการบวมช้ำหรือป้องกันการเลือดคั่งในกล้ามเนื้อ และแผลไก่ การประคบกระเบื้องจะทำในช่วงพักยก โดยเซียนไก่จะใช้ผ้าชุบน้ำล้างตัวไก่ แล้วบิดพอหมาดๆ ก่อนนำผ้าไปวางหรือใช้ผ้าปาดบนกระเบื้องร้อนๆที่อิงบนเตาถ่าน หลังจากนั้น นำผ้ามาประคบหน้าไก่หรือหัวไก่ ส่วนการประคบแผลไก่จะทำหลังเย็บปิดแผลแล้ว นอกจากการชุบน้ำล้างไก่แล้ว เซียนไก่อาจใช้วิธีนำสมุนไพรมาห่อด้วยผ้า อันประกอบด้วยใบตะไคร้ ใบพลับพลึง หัวไพล และพิมเสนหรือเพียงใช้ใบตะไคร้ก็ได้ หลังจากนั้น นำห่อสมุนไพรมาจุ่มน้ำให้เปียก ก่อนนำห่อสมุนไพรมาอิงกระเบื้อง แล้วนำไปประคบหัวไก่หรือเช็ดตามใบหน้าหรือตัวไก่ ทั้งนี้ การนำผ้ามาอิงกระเบื้อง ไม่ควรอิงนานจนผ้าร้อนมาก แต่เพียงอิงให้รู้สึกร้อนที่เราสามารถจับได้ก็เพียงพอ เพราะหากร้อนมากจนจับไม่ได้ ก็แสดงว่าไก่ก็ร้อนมากเช่นกัน
6. การถักปากหรือกระสังปาก
ปากไก่ชนในระหว่างชนไก่หรือหลังชนไก่มักได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นปากฉีก ปากหัก ปากมีรอยแตกร้าว ปากโยกคลอน หรือถอนหลุดออก ทำให้ไก่ชนไม่สามารถใช้ปากจิกยึดคู่ต้อสู้ได้ เพราะเจ็บแผลที่ปาก ทำให้มีโอกาสถูกตีแต่ฝ่ายเดียว และแพ้ได้ง่าย เซียนไก่จะแก้ไขด้วยวิธีถักปากหรือการกระสังปาก ซึ่งจะทำได้เฉพาะปากบนเท่านั้น เพราะมีที่ผูกยึด ส่วนปากล่างไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีที่ผูกยึด การถักปากทำได้โดยนำเส้นด้ายเย็บผ้ามาถักรัดบริเวณปลายปากด้วยเงื่อนตายหลายรอบ ก่อนนำปลายเส้นด้ายโยงมาผูกรัดไว้กับหงอนไก่ ส่วนปากหัก แต่โคนปากไม่เสียหาย ปากไม่โยกคลอน ให้ใช้ปากเทียบสวมต่อให้เป็นปลายปากแทน
7. การล้างตาไก่ การรักษาตาไก่ และการถ่างตาไก่
การมองเห็นของไก่ชนถือเป็นส่วนสำคัญในการชนไก่ให้ชนะ โดยทั่วไปก่อนแข่งหรือนำไก่ลงสนาม เซียนไก่จะดูแลตาไก่ด้วยการล้างตาไก่ทุกๆเดือน โดยเฉพาะก่อนลงสนาม 2-3 เดือน หรือขณะชนไก่ที่หากตามีดินปนเปื้อนหรือมีเลือดเข้าตาไก่ ก็จะทำการล้างตาไก่ในช่วงพักยก ซึ่งนิยมใช้ทั้งน้ำยาล้างตาสัตว์ และยาสมุนไพร รวมถึงน้ำเปล่าต้มสะอาด โดยน้ำยาล้างตาสัตว์สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาปศุสัตว์ ส่วนยาสมุนไพรล้างตา เซียนไก่นิยมนำยางข่อยผสมกับน้ำกลั่นหรือผสมกับน้ำต้มสะอาด และอาจผสมกับยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ส่วนวิธีล้างตาไก่ เซียนไก่จะใช้หลอดดูดน้ำที่ใช้เป็นหลอดดูดทั่วไปมาจุ่มลงในน้ำยา จากนั้น ใช้นิ้วปิดปลายหลอดด้านบน แล้วยกขึ้น ซึ่งน้ำยาจะติดในหลอด ก่อนปล่อยหยดลงตาไก่ 2-3 หยด หลังจากไก่กระพริบตาแล้ว ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดรอบขอบตาไก่
สำหรับไก่ที่มีตาบวมมากจนหนังตาปิด ซึ่งอาจปิดข้างเดียวหรือปิดทั้งสองข้าง ไก่ไม่สามารถถ่างตาตามปกติได้ เซียนไก่จะใช้วิธีเย็บถ่างตาไก่เพียงเข็มเดียวในหนึ่งจุด และเย็บ 2 จุด คือ ขอบหนังตาบน และขอบหนังตาล่าง ซึ่งจะต้องพิถีพิถัน ระวังไม่ให้เข็มจิ้มถูกนัยน์ตาไก่เป็นอันขาด หลังจากเย็บ ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างตาไก่อีกครั้ง
8. การเย็บแผลไก่ และการไขหัวไก่
ในระหว่างชนไก่ บางครั้งมักเกิดบาดแผล โดยเฉพาะการชนกับคู่ต่อสู้ที่มีเดือยหรือมีเดือยยาว ซึ่งแผลส่วนมากมักเกิดบริเวณหัว ท้ายทอย ขอบตา ใบหน้า และลำคอ รวมถึงอาจพบบริเวณหน้าอกลำตัว หลังจากการพักยก เซียนไก่จะต้องเย็บปิดบาดแผลก่อนลงสนาม โดยเฉพาะแผลบริเวณหัวที่มักมีเลือดไหลย้อยลงมาเข้าตาไก่ได้ ซึ่งจะทำให้ตาไก่มองไม่เห็นจนเสียเปรียบคู่ต่อสู้ และอาจแพ้ได้ง่าย
การเย็บปิดบาดแผล เซียนไก่จะล้างทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำเปล่าก่อน แล้วสังเกตบริเวณบาดแผล หากบาดแผลบวมใหญ่มักมีเลือดคั่ง ให้ใช้ปากดูดเลือดออกจากบาดแผลก่อน 2-3 ครั้ง หรือใช้มือกดไล่บีบให้เลือดไหลออก หากเป็นแผลที่หัวจะเรียกว่า การไขหัวไก่ ซึ่งเกิดได้บ่อยที่สุด ก่อนนำผ้าชุบน้ำล้างไก่ที่ผสมสมุนไพร แล้วบิดน้ำออกพอหมาดๆ ก่อนนำอิงกระเบื้องให้ร้อน แล้วนำมาประคบบาดแผลสัก 1-2 นาที หลังจากนั้น นำเข็มที่ถักเชือกมาร้อยเย็บแผล หลังจากนั้น นำผ้าที่อิงกระเบื้องมาประคบ และลูบเช็ดอีกครั้ง ก่อนปล่อยให้ไก่พักผ่อน ทั้งนี้ การเย็บปิดบาดแผล ควรหยิบให้ถี่พอประมาณ และไม่ควรปักเข็มลงลึกถึงกล้ามเนื้อ ให้ปักเข็มเพียงบริเวณหนังด้านนอกก็เพียงพอ และควรใช้เข็มเย็บแผลปลายงอนที่แพทย์หรือพยาบาลใช้ ไม่ควรเข็มหยิบผ้าทั่วไป เพราะเข็มมีความคม และจะเย็บได้เร็ว