ฝึกซ้อมไก่ชนอย่างไร?? ให้ได้กำลัง

หน้าแรก »ตำราไก่ชน » ฝึกซ้อมไก่ชนอย่างไร?? ให้ได้กำลัง

หลังจากที่คัดเลือกไก่สำหรับที่เลี้ยงออกชนได้แล้ว ก็นำมาขายส่งเอาไว้เพื่อจัดการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งในระหว่างนี้แต่ละวันก็มีการเช็ดหรือ กราดน้ำ กราดแดด รวมทั้งดูแลเรื่องอาหาร ทั้งหลักและเสริมอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเสริมพละกำลังให้ไกลอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการออกกำลังกายสำหรับไก่ชนนั้นมีอยู่มากมายหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความชื่นชอบของเจ้าของไก่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มีหลัก 5-6 อย่างที่ผู้เลี้ยงไก่ชนควรรู้ และมีวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ การฝึกพละกำลังของไก่ให้อยู่ตัวควรทำในช่วงเช้าหลังจากเช็ดน้ำ ก็บริหารร่างกาย ผู้เลี้ยงบางราย อาจฝึกให้ไก่มีพละกำลัง โดยนำไก่ออกไปที่โล่งแจ้งแล้วยกตัวไก่โยนขึ้นไปบนอากาศให้กางปีกพยุงตัวบินถลาลง ระยะแรกๆต้องโยนต่ำๆ จากนั้นจึงค่อยเพิ่มระดับความสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไก่เคยชินกับวิธีการดังกล่าวก็ถึงขั้น “บินไกล” โดยจับตัวไก่โยนขึ้นไปให้บิน แล้วผู้ฝึกวิ่งไล่ตามให้ไก่บินไกลๆ พอไก่บิลเรี่ยดินผู้ฝึกต้องไล่ให้บินต่อ แม่ไก่ตกถึงพื้น แม้ไก่ตกถึงพื้นก็ต้องไล่ให้วิ่งและบินเองให้ได้ การฝึกให้ไก่วิ่งและบินควรทำเป็นประจำ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย หรือไม่เห็นว่าไก่หมดแรงก็หยุดและต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าทำโดนแรงอย่างกะทันหัน

ผู้เลี้ยงไก่ชนบางรายนิยมให้ไก่ชนมีกำลังปีกอยู่ตัว โดยการนำไก่ใส่เรือพายออกนอกฝั่งประมาณ 4 เมตร แล้วโยนให้ไก่บินเข้าหาฝั่ง วันแรกๆทำประมาณ 5 ครั้ง วันต่อไปพยายามให้ห่างฝังออกไปเรื่อยๆ เมื่อขยายระยะทางออกไปจนถึง 10 เมตร ให้คงระยะนี้ไว้ประมาณ 1 เดือน จึงนำไก่มาฝึกซ้อมคู่ได้

ส่วนการฝึกกำลังขาให้อยู่ตัว ผู้เลี้ยงอาจนำแท่งเหล็กกลมๆ สั้นๆ มีรอยเว้าขนาดครอบลำแข้งด้านหน้าพอดึ ผูกติดลำแข้งไว้ข้างละอัน เพื่อเป็นตุ่มถ่วงขาปล่อยให้ไก่เดินไปมาในตอนเช้าและตอนเย็น พอกลางวันจึงถอดออกทำอยู่เช่นนี้ประมาณ 1 สัปดาห์หรือเมื่อเห็นว่าไก่เคยชินจึงถอดออกและนำไก่มาฝึกซ้อมคู่ต่อไป

การบินหลุมหรือกระโดดหลุมถือเป็นการออกกำลังกายพื้นฐานที่ได้กำลังเฉพาะส่วน คือ กำลังปีกและกำลังขา ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยการกระโดดหลุมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นๆ เช่น วิ่งสุ่ม เตะนวม ฯลฯเพื่อให้ไก่แข็งแรงครบทุกสัดส่วนสำหรับอุปกรณ์ในการทำให้ไก่กระโดดหลุมอาจเป็นกล่องไม้สูงระดับอกแล้วปิดล้อมด้านข้างให้มิดชิด หรือใช้วงบ่อท่อซ้อนกันซัก 2 ชั้นก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องปูพรมที่พื้นพร้อมกับที่ขอบหลุมด้วย เพื่อลดการกระแทกไก่จะได้ไม่บาดเจ็บ

ส่วนวิธีออกกำลังกายด้วยการกระโดดหลุมนั้นก็คือนำไก่ใส่ไว้ในด้านในพร้อมมีไม้เพื่อตบข้างๆของหลุม ก็ทำให้ไก่กระโดดขึ้นมาเกาะที่ขอบหลุม จากนั้นก็นำไก่ใส่ลงไปใหม่ทำลักษณะนี้เรื่อยไป ผู้เรียนต้องคอยสังเกตว่าไก่สามารถกระโดดหลุมได้มากน้อยแค่ไหน ควรเริ่มจากน้อยๆ แล้วค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเมื่อครบแล้ว อาจจะหยอนคอแล้วก็ไปปล่อยให้พัก หลังจากนั้นก็อาจฝึกซ้อมด้วยวิธีอื่นๆต่อไป

ผลักอก เป็นการฝึกซ้อมอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ไก่มีพละกำลังที่ดี ซึ่งอาจใช้ร่วมกับการออกกำลังกายแบบเป็นหลุมก็ได้ แต่ต้องหาที่รองพื้นนุ่มๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับไก่เช่นกัน การผลักอกไก่นั้น เราอาจจะทำเป็นการวอร์มหรือการอบอุ่นร่างกายอื่นๆก็ได้ โดยใช้มือหนึ่งกับบริเวณใต้โคนหาง ส่วนอีกมือหนึ่งจับบริเวณหน้าอก จากนั้นก็ผลักออกไปด้านหลังเล็กน้อย ประเหมือนให้ไก่หงายท้อง ไก่ก็จะกระพือปีก เพื่อรักษาสมดุลเอาไว้ อาจทำจากครั้งละน้อยๆ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน อ่านสัก 2-3 เซต เซตละ 10-20 ครั้ง เป็นต้น

ว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายอีกวิธีหนึ่งที่เสริมสร้างพละกำลังให้ไก่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงขา และทำให้ไก่ไม่บาดเจ็บหรือรับภาระหนักมากเกินไป แต่ทว่าเป็นวิธีที่ไม่นิยมมากนัก เนื่องจากเวลาไก่ว่ายน้ำทำให้เปียกทั้งตัว ซึ่งทำให้ขนปลีกและขนหางอาจผุเร็วกว่าปกติ แต่โดยส่วนมากแล้วการออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ใช้สำหรับไก่ใหม่ที่เพิ่งจับออกมาจากฝูง ก็นำมาใส่ถุงล่อแล้ว แขวนไว้ในน้ำ เป็นการออกกำลังกายพร้อมทำความสะอาดร่างกาย กำจัดปรสิตไปในตัวด้วย แต่อย่างไรก็ตามหลายซุ้มหลายฟาร์มก็ใช้การออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นหลักสูตรใครหลักสูตรมัน

การวิ่งสุ่ม เป็นการออกกำลังกายไก่ชนที่ถือว่าได้รับความนิยมมากที่สุดก็ว่าได้ การวิ่งสุ่มนั้นจะเป็นวิธีการที่จะทำให้ไก่ได้ออกกำลังกายขามากเพราะฝึกพละกำลังให้ไก่ฟิตและไม่เหนื่อยง่าย คล้ายๆกับนักกีฬาที่ต้องวิ่งเพื่อเสริมสร้างพละกำลังนั่นเอง

วิธีการคือ นำสุ่มมาครอบกัน 2 ชั้น สุ่มด้านในมีขนาดเล็กกว่าด้านนอก นำไก่ไว้ด้านในสุ่ม 1 ตัว (เรียกว่าไก่ใน) แล้วก็ปล่อยไก่ตัวที่ซ้อมให้เลาะอยู่ด้านนอก โดยธรรมชาติไก่ทั้ง 2 พยานต่อสู้กันแต่ทว่าเข้าถึงกันไม่ได้ ทำให้ต้องวิ่งวนไปมาเพื่อหาช่องทางที่เข้าถึงกัน กลายเป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็จะมีปัญหาตรงที่ไก่บางตัวจะไม่ค่อยวิ่งสุ่ม ซึ่งเป็นไก่ที่เลี้ยงยากสักหน่อย แก้ไขโดยการนำไก่ในมาล่อหรือยั่วโมโหก่อน หรืออาจจะปล่อยสาดกันสักทีสองที ก็รีบเอาไก่เข้าไปในสุ่มโดยเร็ว ใช้ตัวบางหรือตัวกั้นไก่ตัวที่เลี้ยงไว้แล้วจึงปล่อยวิ่ง

สำหรับไก่บางตัวที่เลี้ยงง่ายก็จะวิ่งสุ่มเองโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะไก่ใหม่หนุ่ม อาจจะวิ่งโดยไม่กลัวเหน็ดเหนื่อยเลยทีเดียว ซึ่งไก่ที่วิ่งสูงดีๆหรือง่ายนั้นจะเป็นไก่ที่ดุ จะไม่ยอมไก่อื่นง่ายๆ และเป็นไก่ที่มีนาทีทอง ถ้าคู่ต่อสู้พลาดก็จะซ้ำเป็นชุดทันที

ไก่บางตัวเวลาวิ่งสุ่มจะบินขึ้นบินลงอยู่ตลอดเวลา เราจะต้องรู้จักวิธีการกระแทกรับน้ำหนักของไก่ พื้นที่วิ่งสุ่มไก่ควรจะมีเป็นพื้นที่นุ่มๆไม่แข็ง และไม่มี เศษวัสดุชนิดอื่นๆ เป็นไปได้ควรเป็นพื้นพรม เช่นเดียวกับพื้นสนาม เพื่อให้ไก่เกิดความเคยชิน หรือเป็นพื้นดินทราย หรือหาสร้อยมาทำเป็นที่พิเศษสำหรับฝึกซ้อมไก่ชนจะเป็นการดีที่สุด ส่วนหลังสุ่มก็ควรหากระสอบหรือพรมปิดหลังสุ่มเพื่อป้องกันไก่โผล่หัวขึ้น หรือลงมาจิกกันได้  และอีกอย่างเวลาที่ไก่บินขึ้นหลังสุ่มก็จะไม่เป็นอันตราย   การวิ่งสุ่มนั้นเราจะคอยสังเกตุไก่ด้วย และต้องดูแลด้วยไม่ใช่ปล่อยไก่วิ่งสุ่มโดยไม่ได้สนใจ เพราะไก่ตัวในอาจดันสุ่มมาติดกันและอาจโผล่หัวออกมาได้ ไก่ตัวที่วิ่งสุ่มอยู่ก็จะจิกตีก็จะทำให้โดนสุ่มหรือตาข่าย  แข้งขานิ้วอาจจะเสียได้  นอกจากใช้สุ่มไม้ไผ่สองอันซ้อนกันแล้ว  ปัจจุบันมีสุ่มที่ผลิตมาเพื่อใช้ในการวิ่งสุ่มโดยเฉพาะด้วย โดยใช้เป้นโครงเหล็กแล้วล้อมด้วย ตาข่ายอวน 2 ชั้น ซึ่งสุ่มลักษณะนี้ทำให้ไก่มองเห็นกันได้อย่างชัดเจน และที่สำคัญลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับสุ่มไม้ไผ่ได้

การวิ่งสุ่มจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่ก็ไม่ได้มีข้อกำหนดที่แน่นอนนัก ขึ้นอยู่กับจังหวะในเรื่องต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ อาจจะขึ้นอยู่กับจังหวะในเรื่องต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ อาจจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้เลี้ยงว่าเหมาะสมหรือไม่ บาทีอาจจะปล่อยวิ่งสุ่มไปเรื่อย ๆ หรือเป็นการออกกำลังช่วงสุดท้ายหลังจากการฝึกซ้อมอย่างอื่นมาก็จะปล่อยให้ไก่วิ่งสุ่มเล่น ๆ สบาย ๆ สักพัก เราก็ถึงจะนำมาทำเนื้อทำตัวในขั้นตอนต่อไป

จานวิ่ง  เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ไก่ได้มีการออกกำลังกายโดยเฉพาะ ซึ่งจานวิ่งมีลักษณะคล้ายสุ่มแต่ตรงกลางเป็นเสา หรือภาชนะที่ไก่ไม่สามารถไปยืนได้ ที่เป็นเหมือนไม้กระดานที่หมุนได้และมีลักษณะเอียงเล็กน้อย เมื่อไก่ยืนทำให้จานหมุน กระตุ้นให้ไก่วิ่งหรือเดินอยู่ตลอดเวลา เป็นการออกกำลังกายอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นอกจจากนี้ยังมีจานวิ่งแบบไฟฟ้าด้วย

การวิ่งลู่  คือการนำไก่ใส่ลู่ที่ทำจากโครงเหล็กหรือท่อพีวีซี  ส่วนใหญ่มีขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร สูง 1.2 เมตร และยาวประมาณ 2.5 เมตรล้อมตัว  ตาขายอ้วนทั้ง 5 ด้าน  ลูวิ่งก็ทำหน้าที่คล้ายกับสุ่มคือใช้ขับไก่ แต่ทว่าด้วยมีขนาดใหญ่ทำให้ไก่เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ที่สำคัญเมื่อมีไก่อยู่ลู่ข้างๆ ทำให้ไก่ได้พยามที่ต่อสู้กัน ทำให้เกิดเป็นลักษณะการวิ่งไปมาในลู่ เหมือนไก่ได้ออกกำลังกายไปในตัว การวิ่งลู่อาจปล่อยให้วิ่งคล้าย ๆ กับวิ่งสุ่ม  คือกำหนดเวลา 20-30 นาทีแล้วเก็บไก่  แต่หลายที่อาจปล่อยให้ไก่วิ่งอยู่ในลักษณะเช่นนี้ทั้งวันก็ได้  ขึ้นอยู่กับสูตรการเลี้ยงของแต่ละฟาร์ม

การล่อไก่  เป็นการฝึกซ้อมอีกวิธีหนึ่งที่มีความจำเป็นมากสำหรับการเลี้ยงไก่ออกชน  ซึ่งเป็นการออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกายก็ว่าได้ ที่รองๆ ลงมาจากการลงนวม  โดยการจับไก่ตัวหนึ่งไว้แล้วล่อไก่อีกตัวหนึ่ง อาจแค่ล่อให้วิ่งตามไปมา หรือให้กระโดดเตะด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังและใช้ความรวดเร็วพอสมควร เพราะไม่เช่นนั้นอาจเป็นอันตรายกับไก่ที่นำมาล่อได้

การล่อไก่ในปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการขึ้นอย่างต่อเนื่อง  แต่เดิมใช้มือจับ  ต่อมามีแบบกระเป๋าล่อ ทว่าปัจจุบันใช้เป็นราวแขวนไก่ที่ใช้ล่อ พร้อมมีแกนกลางหมุนได้โดยที่ให้ไก่ตัวที่ซ้อมเป็นตัวลาก ซึ่งทำให้ไก่ได้กำลังอีกทั้งผู้เลี้ยงไม่ต้องเสียเวลามากด้วย

การตีนวมไก่ ถือว่าเป็นการออกกำลังกายได้ทุกสัดส่วน  ซึ่งได้รับการกระแทก เสียดทานก็เหมือนการปล้ำหรือการชนจริง เพียงแต่ใส่นวมที่ปากและขาไก่ที่นำมาฝึกซ้อมเท่านั้น ส่วนไก่ตัวที่จะเลี้ยงออกชนนั้นจะไม่ใส่นวมปาก ซึ่งการตีนวมไก่นั้นอาจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเลี้ยงไก่ออกชนก็ว่าได้  ขั้นตอนนี้จะเป็นการเช็คความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายที่ได้ผ่านการฝึกซ้อมมมาว่ารายกายนั้นสมบูรณ์แข็งแรงเป็นที่น่าพอใจของผู้เลี้ยง หรือไม่ว่าก็จะมาวิเคราะห์พิจารณากันดูว่าไก่บินตีขนาดนี้มีความแข็งแรงหรือไม่  อาวุธที่ออกไปนั้นแข็งแรงหรือเจ็บขนาดไหน เวลาบินออกอาวุธ  การทรงตัวเป็นอย่างไร ความคลอ่งแคล่วว่องไวดีเหมือนเดิม ทุก ๆ อย่างตรวจเช็คว่าไก่ดีเหมือนเดิมก็จะสามารถเตรียมตัวออกชนได้

ปล้ำไก่  เป็นการออกกำลังกายที่ได้ทั้งพละกำลังได้เรียนรู้การชน รวมทั้งได้น้ำอดน้ำทนด้วย สำหรับไก่หนุ่มอายุ 7-8 เดือน กว่าจะแข็งแรงเลี้ยงออกไปชนได้ต้องปล้ำอย่างน้อย ๆ 8 ยก  และอาจะจะลงนวมถึง 10 ยกขึ้นไปอีกด้วย รวมแล้วอาจะต้องใช้เวลาเลี้ยงนาน 3-4 เดือน ไก่หนุ่มก็อายุชนขวบถึงนำออกชนได้