ไก่ชนสายพันธุ์แท้ “ทองแดงหางดำ”

หน้าแรก »ตำราไก่ชน » ไก่ชนสายพันธุ์แท้ “ทองแดงหางดำ”

ประวัติ

เรามาทำความรู้จักไก่ชนพันธุ์นี้กันเลยค่ะ  “ไก่ทองแดงหางดำ”   เป็นไก่ชนพันธุ์แท้แต่โบราณ ซึ่งเริ่มมีข้อมูลตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยตำนานเล่าว่าตอนฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่ หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้นยังทรงพำนักอยู่หงสาวดี ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระน้องยาเธอ พระเอกาทศรถ นำไก่ไทยไปร่วมชนในงานฉลองกรุงหงสาวดีครั้งนั้นด้วย  และไก่ทองแดงหางดำ ได้ไปสร้างชื่อเสียงเอาชนะไก่พม่าได้อย่างง่ายดาย

แหล่งกำเนิด

มีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่วๆ ไปไก่ดังในอดีตที่ เพชรบุรี ราชบุรี อยุธยา ชลบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป

“ไก่ทองแดงหางดำ” เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม ตัวเมีย 2.5-3 กิโลกรัม

สีของเปลือกไข่และลูกเจี๊ยบ เปลือกไข่สีน้ำตาลอมแดง ลูกเจี๊ยบสีแดง ทั้งตัวแบบไก่โร้ดไอร์แลนด์เรด ปาก แข็ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดงอ่อน

ไก่ทองแดงหางดำ  มีการแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด โดยแต่ละสีแต่ละชนิดก็มีเอกลักษณ์ต่างกันไป  คือ

1.  ทองแดงใหญ่ ขนพื้นตัว และขนสร้อยจะมีสีเข้มแดงอมดำ ปากแข็ง เล็บเดือยสีเหลือง อมแดงอม ดำตาแดง ไก่ทองแดงใหญ่บางแห่งเรียกว่าไก่ทับทิม

2. ทองแดงตะเภาทอง ขนพื้นตัว และขนสร้อยจะสีออกเหลืองส้มตามแบบไก่ตะเภาหรือสีแบบสีทองคำแท่ง ปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีเหลืองอมแดง ตาเหลืองอมแดง

3. ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ขนพื้นตัว และขนสร้อยจะสีเข้มอมดำคล้าย ๆ แดงใหญ่ แต่ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลาย แดงดำ

4. ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ขนพื้นตัว ขนสร้อย จะสีแดงซีด ๆ แดงอ่อนๆ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมแดงเหมือนกับตะเภาทอง

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้เลี้ยงว่า

ไก่ทองแดงหางดำเพศเมีย  จะมีลักษณะต่างกับเพศผู้ โดยมีลักษณะเด่นดังนี้

  • ขนพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้อง ก้น สีแดง
  • ขนคอ ขนหลัง ขนปีก สีแดงแก่กว่าขนพื้นตัวเล็กน้อย
  • ขนสร้อยคอ จะมีแดงขลิบแลบออกมาเล็กน้อยตามเฉดสีแต่ละชนิด ขนปิดหูสีแดง
  • ขนไชปีก ขนหางพัดสีดำ ขนทับหางสีแดง
  • ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง จะเข้มหรืออ่อนตามเฉดสีพันธุ์ตาสีแดง
  • ไก่ทองแดงเพศเมียจะเป็นไก่ทรงรูปปลีกล้วย ไหล่หน้าจะใหญ่ ท้ายจะมนกลม กระโปรงหางจะรัดและยาวแบบตัวผู้