ไก่ชนใต้ เลี้ยงอย่างไร?

หน้าแรก »ไก่ชนใต้ » ไก่ชนใต้ เลี้ยงอย่างไร?

วันนี้เรามาทำความรู้จักวิธีการเลี้ยงไก่ชนใต้กัน  ว่าเลี้ยงอย่างไรให้เก่ง มีเทคนิคอย่างไรให้ไก่สมบูรณ์ก่อนออกชน  มาดูกันเลย

วิธีการเลี้ยงไก่ชนใต้ให้สมบูรณ์ก่อนออกชน

ไก่ใต้หรือไก่ชนสายพันธุ์เดือย  เดิมทีหากย้อนอดีตไปเมื่อ  7-10  ปีที่แล้ว ไก่ภาคใต้จะเป็นที่รู้จักกันในวงแคบๆ หรือรู้จักกันเฉพาะทางภาคใต้  และจะไม่เป็นที่รู้จักหรือยอมรับในวงการไก่แข้ง หรือไก่ชนของทางภาคอื่น ๆ เพราะจะไม่มีสื่ออย่างเช่น  “นิตยสารไก่ชนต่างๆ”  เป็นตัวเผยแพร่ให้รู้ถึงความจริง  และความเป็นมาของไก่ใต้  ได้ชัดเจนได้อย่าทุกวันนี้  เพราะทุกวันนี้นิตยสารไก่ชนที่ออกวางแผงทั้งรายปักษ์  และรายเดือน  ผู้เขียนกล้าการันตีว่ามีไม่ต่ำกว่า 10 นิตยสารอย่างแน่แท้  ซ้ำบ่อยๆ ที่มีนิตยสารออกทำเล่ม “เฉพาะกิจ”  ขึ้นมาตามกระแสของไก่สายพันธุ์ต่าง ๆ ในวงการไก่ชนเมืองไทย  จุดนี้จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า “วงการไก่ชนเมืองไทย” เติบโตกว้างขวางได้อย่างรวดเร็ว  แม้จะมีอุปสรรคใหญ่หลวงอย่าง  “ไข้หวัดนก”  มาทำให้กีฬาไก่ชนเมื่อไทยต้องสะดุดทุกปี  แต่ก็ไม่สามารถต้างทานพลังนิยมของกีฬาไก่ชนเมืองไทยได้เลย

ส่วนไก่ชนปักษ์ใต้ทุกวันนี้ก็จัดว่าได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน  เพราะไกใต้เลือดร้อยรังแท้เป็นที่ต้องการของทุกคนทุกภาค  ทุกระดับชั้น   เพื่ออยากได้จุดเด่นในตัวเหล่าพันธุ์ของไก่ชนปักษ์ใต้ไปพัฒนาสายพันธุ์ของเหล่าไก่ตนเอง

หลักการเลี้ยงและฝึกไก่ชนภาคใต้

1. เริ่มต้นด้วยการสืบประวัติไก่  ดูตั้งแต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์  โดยต้องสามารถมั่นใจได้ว่าการจ่ายลูกออกมาแล้วค่อนข้างนิ่ง  ทิ้งให้น้อยที่สุดถือว่าใช้ได้

2. เมื่อลูกไก่อายุได้  5-6  เดือน  หากสภาพร่างกายพร้อม คือ  ไม่พิการ  มีเชิงดี  ก็ให้นำมาขุนเพื่อเริ่มปล้ำ  โดยระหว่างนี้บำรุงด้วยอาหารและวิตามินต่างๆ เข้าไปเรื่อย  จากนั้นเมื่อไก่เริ่มสุดปีกสุดหาง  เสียงขัดเริ่มชัดเจนขึ้น  ประมาณ  8-9  เดือน  ก็นำไปลองปล้ำได้เลย  โดยก่อนนำไปปล้ำจะต้องเก้บตัวไก่ให้อยู่ในสุ่มประมาณ  10  วัน  จากนั้นเริ่มปล้ำได้  ซึ่งจะให้ปล้ำเพียง  3  อันเป็นเบื้องต้น  ซ้อมครั้งละ  20-25  นาทีต่อวัน  เพื่อไม่ฝืนไก่จนเกินไป

3. นำไก่มาฝึกความอดทนด้วยการซ้อมโดยการนวมไก่  ปล้ำประมาณ 2 อัน  เพื่อดูท่าที  ลักษณะการยืน  การชน  ดูความมั่นคงของจิตใจไก่และเพิ่มพละกำลังให้ต้านทานการกด การบังคับ และเปิดช่องตีให้เป็นก่อน  ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างที่จะสามารถทดสอบความเข้มแข็ง  ถ้าจิตใจไม่มั่นคงก็อาจจะท้อใจ และเมื่อลงสนามโอกสารแพ้จะสูง  ถ้าเป็นไก่เดือยแล้วหัวจิตหัวใจต้องใหญ่กว่าตับน้ำอดน้ำทนต้องดีเยี่ยม

4. การบำรุงไก่หรือการถอนตีน  เจ้าของควรบำรุงก่อนพาไก่ออกชน  ซึ่งการบำรุงนี้  เมื่อไก่ได้ผ่านการถูกตีมาบ้างแล้วจากการซ้อมก่อนหน้า  ไก่จะรู้จักความบอบช้ำไม่ว่าจะเป็นส่วนปีก  คอ  หน้า  เจ้าของมีหน้าที่จัดอาหารบำรุง  ทายา  จากนั้นก็ซ้อมแบบไม่หนักมา  โดยการฝึกโยนเบาะ ฝึกล่อ  เมื่อไก่เริ่มแข็งแรงสามารถตีปีกได้ดีแล้ว  ให้เจ้าของลองนำไก่ไปซ้อมคู่อีก 1 อัน  โดยไม่ต้องหักโหมมาก  จากนั้นก็เตรียมพร้อมเพื่อลงสนามจริงได้เลย  แต่ถ้ายังไม่มั่นใจก็สามารถเพิ่มการไล่แข็งได้อีก  เพราะสภาพร่างกายของไก่แต่ละตัวต่างกัน  ความแข็งแกร่งก็ต่างกันไป

5. การเปรียบไก่เป้นขั้นตอนที่เจ้าของจะมีโอกสารลุ้น  ว่าไก่คู่ต่อสู้ที่ได้นั้นจะทำให้ไก่ของตัวเองมีโอกสารชนะหรือไม่  โดยการเปรียบไก่นี้ทั้ง 2 ตัวจะต้องมีรูปร่างที่เหมาะสมกัน  คือ  ขนาดใกล้เคียงกันรวมถึงอายุของไก่  ปลายตอ  ปลายคอ  และต้องรู้จักว่าไก่ตัวเองชอบตียังไง  เพื่อจะได้ไม่เกิดการเสียเปรียบนอกจานี้หากเจ้าของสามารถอ่านเชิงไก่คู่ต่อสู้ได้  ก็จะมีโอกสารลุ้นมากขึ้น  ที่สำคัญอย่าฝืนไก่เพราะถ้าเจอตัวที่โตกว่า  แข็งกว่าไก่เราต้องใช้พละกำลังเยอะกว่าจะตีเขาได้เผลอๆ โดยแผลคู่ต่อสู้อาจะหนีได้ง่ายๆ ยาโด๊ปก็เถอะเจอแผลคมๆ ไม่รอดสักราย